การใช้ผลิตผลทางการเกษตรเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า

การผลิตไฟฟ้าจากผลิตผลทางการเกษตรหรือชีวมวล (Biomass) ถือเป็นการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทนภายในประเทศ ที่สอดคล้องไปกับนโยบายด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ที่มุ่งหวังจะกระจายแหล่งเชื้อเพลงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติหรือพลังงานทดแทน สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ผลพลอยได้ที่สำคัญนอกเหนือจากผลผลิตการเกษตรก็คือ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย กาก ใย และทะลายปาล์ม สิ่งเหล่านี้คือ ชีวมวล (Biomass) วัสดุหรือสารอินทรีย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้ ชีวมวลนับรวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เศษไม้ ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้ มูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร และของเสียจากชุมชนอีกด้วย

ข้อดีของเชื้อเพลิงจากชีวมวล

- ใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน
- เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นกับสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก
- เสริมความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ช่วยเพิ่มความมั่นคงต่อระบบผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ข้อจำกัดของเชื้อเพลิงจากชีวมวล

- ชีวมวลเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากการแปรรูปทางการเกษตรมีปริมาณสำรองที่ไม่แน่นอน
- การบริการจัดการเชื้อเพลงทำได้ยาก
- ราคาชีวมวลมีแนวโน้มสูงขั้น เนื่องจากมีความต้องการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่
- ชีวมวลที่มีศักยภาพเหลืออยู่ มักจะกระจัดกระจายมีความชื้นสูงจึงทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น เช่น ใบอ้อยและยอดอ้อย ทะลายปาล์ม เป็นต้น

ที่มา : กระทรวงพลังงาน

Share this post :